เมนู

[ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท 10 อย่าง]


หลายบทว่า ทส อตฺถวเส ปฏิจฺจ มีความว่า จักอาศัย คือมุ่งหมาย
ปรารภอำนาจแห่งเหตุ คือประโยชน์เกื้อกูลพิเศษ 10 อย่าง ที่จะพึงได้ เพราะ
เหตุบัญญัติสิกขาบท. มีคำอธิบายว่า เล็งเห็นความสำเร็จประโยชน์พิเศษ 10
อย่าง. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะแสดงอำนาจประโยชน์ 10 อย่างนั้น
จึงตรัสคำว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย เป็นต้น.

[อธิบายประโยชน์การบัญญัติสิกขาบท 10 อย่าง]


บรรดาอำนาจประโยชน์สิบอย่างนั้น ที่ชื่อว่า ความเห็นชอบของสงฆ์
ได้แก่ข้อที่สงฆ์ยอมรับว่าดี. คือข้อที่สงฆ์รับพระดำรัสว่า "ดีละ พระเจ้าข้า!"
เหมือนในอนาคตสถานที่ว่า "ดีละ สมมติเทพเจ้า !" จริงอยู่ ภิกษุใด ยอม
รับพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า, การยอมรับพระดำรัสนั้น ของภิกษุนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเปิดเผยเนื้อความนี้ว่า เราจักแสดงโทษในความไม่
ยอมรับ และอานิสงส์ในความยอมรับ คือไม่กดขี่โดยพลการ จักบัญญัติ
(สิกขาบท) เพื่อให้สงฆ์ยอมรับคำของเราว่า ดีละ พระเจ้าข้า ! ดังนี้ จึง
ตรัสคำว่า "เพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์"
บทว่า สงฺฆผาสุตาย คือเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์, อธิบายว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่ความอยู่เป็นสุข ด้วยความเป็นอยู่ร่วมกัน.
หลายบทว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคล
ผู้ทุศีล ชื่อว่าบุคคลผู้เก้อยาก, ภิกษุเหล่าใด แม้อันภิกษุทั้งหลายจะให้ถึงความ
เป็นผู้เก้อ ย่อมถึงได้โดยยาก, กำลังกระทำการละเมิด หรือกระทำแล้ว ย่อม
ไม่ละอาย, เพื่อประโยชน์แก่อันข่มภิกษุเหล่านั้น.